เทคนิคการเสริมกำลังใจ

        ความหมาย                 
                  การให้กำลังใจ หมายถึง การใช้คำพูดและการกระทำ เพื่อลดและผ่อนคลายความทุกข์ใจ ความเดือดร้อนใจ ความรู้สึกเจ็บปวด ชอกช้ำเพื่อให้ผู้รับการปรึกษา มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต สามารถเผชิญปัญหาได้ในระดับหนึ่ง การให้กำลังใจด้วยวาจาหรือแววตา สีหน้า ท่าทาง ตามจังหวะอันควรจะช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจมองเห็นทางออกในการแก้ปัญหา การให้กำลังใจ เป็นทักษะที่ควรนำมาใช้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก เช่น เสียใจ เศร้าใจ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ คิดว่าตนเองไร้ค่า ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการให้กำลังใจเชิงจิตวิทยา (Psychological support)ใช้ในการให้การปรึกษา ซึ่งเป็นการให้กำลังใจ โดยอิงตามศักยภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก

                จำเป็นต้องมีการฝึกทักษะ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วยมีขั้นตอนของการให้กำลังใจ โดยการสำรวจอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ด้วยการใช้คำถามเปิด/ ทวนความ / สรุปความ เมื่อผู้รับการปรึกษาพูดถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตน ผู้ให้การปรึกษาจับอารมณ์ความรู้สึกได้แล้วจึงปฏิบัติต่อไปนี้
              1.   สะท้อนความรู้สึก
              2.   ค้นหาศักยภาพของผู้มารับการปรึกษา โดยใช้คำถามเปิดเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับการปรึกษาได้พูดถึงศักยภาพของตนภายใต้ความรู้สึกนั้นๆ
              3.  สนับสนุนศักยภาพหรือการให้กำลังใจ โดยเชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้รับการปรึกษาผูกพัน เช่น บุคคลที่เขารัก

ทักษะการเสริมกำลังใจ
     
                ทักษะการเสริมกำลังใจ  หมายถึง  ความสามารถในการใช้ท่าทางและคำพูดเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเต็มใจแสดงพฤติกรรมที่ครูต้องการ  รวมทั้งความสามารถที่ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

     ประเภทของการเสริมกำลังใจ
                การเสริมกำลังใจที่ใช้กันได้ผลมี  4  ประเภท  คือ
                1.  การเสริมกำลังใจด้วยวาจา  เช่น  เก่ง  ดีมาก  ใช้ได้  เป็นความคิดที่ดี  น่าในใจ  เป้ฯข้อสังเกตที่ดี  ชัดเจนขึ้น  เป็นต้น
                2.  การเสริมกำลังใจด้วยท่าทาง  เช่น  ตั้งใจฟัง  การพยักหน้า  แสดงการตอบรับในการระหว่างที่นักเรียนพูด  การยิ้ม  การเขียนคำตอบของนักเรียนลงบนกระดานดำ  เป็นต้น
                3.  การเสริมกำลังใจด้วยการให้รางวัลและสัญลักษณ์ต่างๆ  เช่น  การให้สิ่งของ  การให้เครื่องหมายดีเด่น  การติดประกาศผลงาน  การติดประกาศรายชื่อ  เป็นต้น
                4.  การเสริมกำลังใจด้วยการให้นักเรียนเห็นความก้าวหน้าของตน  เช่น  การทำเครื่องหมายลงในตารางความก้าวหน้าทุกครั้งที่ทำงานสำเร็จ

    หลักการเสริมกำลังใจ
1.     ควรเสริมกำลังใจนักเรียนทันที  ที่ได้แสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
2.     ควรเลือกวิธีเสริมกำลังใจให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน
3.    ไม่ควรเสริมกำลังใจบางประเภทบ่อยเกินไป
4.     พยายามหาโอกาสเสริมกำลังใจให้ทั่วถึงกัน
5.     การเสริมกำลังใจไม่ควรมาจากครูฝ่ายเดียว  ควรมาจากนักเรียนด้วยกันบ้าง  เช่น  การปรบมือของเพื่อนในชั้น  หรือให้เพื่อนตัดสินผลงาน
6.    ไม่ควรพูดเกินความจริง  ควรพูดตรงไปตรงมาตามพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกมา  เช่น   ถ้าตอบถูกหมดก็บอกว่า  ดีมาก  ถ้าถูกบางส่วนก็  ใช้ได้
7.     ควรเสริมกำลังใจด้ายท่าทางจริงจังและตั้งใจให้กับนักเรียน  ขณะเสริมกำลังใจ
8.     ควรใช้การเสริมกำลังใจ  ด้วยวาจา  ท่าทาง  ประกอบกัน
9.     ถ้านักเรียนตอบผิด  ควรให้นักเรียนคิดใหม่  หรือใช้คำถามง่ายๆ  จะได้ไม่เสียกำลังใจ








เอกสารอ้างอิง

ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์. (ม.ป.ป.). ทักษะและเทคนิคการสอน. ลพบุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

ที่มา  http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/02/01/entry-17
            ที่มา : http://www.suicidethai.com/elearning/test/education/articles/view.asp?id=3

เทคนิคการเสริมกำลังใจ