การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

ความหมาย
                      คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติภายในใจใดๆ ก็ตามที่เป็นคุณสมบัติไม่เป็นโทษ
ส่วน จริยธรรม  หมายถึง  สิ่งควรประพฤติอัน ได้แก่  พฤติกรรมเป็นการกระทำ ทางกาย วาจา  ใจ  อันดีงามที่ควรปฏิบัติ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  คุณธรรม และจริยธรรม  หมายถึง  คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องของตนเอง ผู้อื่นและสังคม

การส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ
1. ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

                2.ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะทางการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย 

3.ซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกเอนเอง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
4.มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเอง และสังคม
5.สุภาพ คือ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามสถานภาพ และกาลเทศะมีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
6.สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
7.สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน  ทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล
8.มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ และผู้ที่มีความเดือดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย และสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพ่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน 


ประโยชน์ของคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม 
คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังนี้
1.ประโยชน์ตน
            1) ทำให้ตนเองมีชีวิตที่สงบสุข

            2) ทำให้ตนเองมีความเจริญรุ่งเริงในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน
           3) ได้รับการยกย่องสรรเสริญเทดทูนบูชาจากบุคคลทั่วไป
           4) ครอบครัวอบอุ่น มีความสุข ฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง
           2.ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
           2.1 ประโยชน์ต่อสถาบัน เช่น
                     1) สถาบันครอบครัวของตนได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป
                     2) สถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่ประกอบอาชีพธุรกิจมีชื่อเสียงทำให้บุคคลอื่นศรัทธาเลื่อมใส
                     3) สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัดมีความเจริญก้าวหน้า ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะสมาชิกทุกคนมีคุณธรรม  จริยธรรม และศีลธรรมอันดีงาม
           2.2ประโยชน์ต่อชุมชน เช่น
                      1) สังคมได้รับความสงบสุข เพราะทุกคนเป็นคนดีมีคุณธรรม
                      2) สังคมได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพราะสมาชิกทุกคนต่ากระทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ
           2.3 ประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
                     1) สถาบันชาติ ศาสน์ กษัติริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความจงรักภักดีและเห็นความสำคัญของสถาบันดังกล่าวอย่างแท้จริง
                     2) ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติมีความมั่นคงถาวรเพราะทุกคนมีความรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเต็มใจยึดถือปฏิบัติตาม


เอกสารอ้างอิง

          www.okubon.com/index.php?option=com_content.

          www.dmsc.moph.go.th/cleangov/knowledge/Ethics.stm
          www.tatc.ac.th/files/09011219194805_09070212123355.doc

เทคนิคการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม